คณะแพทย์ตะวันออก วิทยาลัยเชียงราย

ประวัติความเป็นมาของคณะ

Faculty of Oriental Medicine ประวัติความเป็นมาของคณะ

โครงสร้างคณะแพทย์ตะวันออก

 

ความเป็นมา

ในปีการศึกษา 2556 คณะแพทย์ตะวันออกได้เริ่มเปิดดำเนินการสอนในวิทยาลัยเชียงราย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ ส่งเสริมให้มีการใช้ศาสตร์การดูแลสุขภาพต่างๆ ที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ประหยัดและสอดคล้องกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย อาทิเช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆ ผสมผสานกันในการดูแลสุขภาพศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประวัติการพัฒนาและการสืบทอดกันมากกว่าห้าพันปี ในห้าสิบปีที่ผ่านมาได้รับการประยุกต์ผสมผสานกับการแพทย์แผนตะวันตก และกลายเป็นกระแสหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนในประเทศจีน และยังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีและสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยมีการนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยมีหลักฐานที่ปรากฏพบว่ามีร้านยาจีนจำนวนมากในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศไทย รวมทั้งได้มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศเมื่อกว่า 80 ปีที่ผ่านมา

เมื่อศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพสำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุขจะมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน  เมื่อประเมินความต้องการบุคลากรดังกล่าวแล้วเห็นว่าหากต้องส่งไปเรียนหรือไปรับการอบรมในต่างประเทศจะเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายอย่างมาก

ดังนั้นทางวิทยาลัยเห็นควรให้มีการผลิตบุคลากรดังกล่าวขึ้น จึงได้ตั้งคณะแพทย์ตะวันออก โดยเริ่มเปิดหลักสูตรแรกคือ หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2556) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาจีน รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียนและเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี โดยเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนร่วมกับ มหาวิทยาลัยการแพทย์จีนหูเป่ย (Hubei University of Chinese Medicine) สาธารณรัฐประชาชนจีน 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะแพทย์ตะวันออก วิทยาลัยเชียงราย ร่วมกับ Hubei University of Chinese Medicine

ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย และภาษาจีน

สีประจำคณะ

สีเขียวตองอ่อน

ตราสัญลักษณ์

งูพันคฑา

ปรัชญาคณะ

“ความรู้คู่คุณธรรม นำสังคม” หมายถึง ผู้มีความรู้และคุณธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงตนอย่างมีความสุขและมีคุณค่า

  • ความรู้ 4 ประการ: รู้วิชาการเลิศ รู้จักตนเอง รู้จักสังคม รู้รักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
  • คุณธรรม 7 ประการ: วินัย ขยัน อดทน เสียสละ รักงาน ซื่อสัตย์ กตัญญู
  • นำสังคม: การนำความรู้และคุณธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาสังคม

ปณิธาน

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คุณธรรม ชำนาญการในวิชาชีพและสร้างสรรค์สังคม

อัตลักษณ์

บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ คุณธรรม และชำนาญการในวิชาชีพ

เอกลักษณ์

โดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีเพื่อสังคม

วัตถุประสงค์

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ปฏิบัติตนถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพแพทย์แผนจีน
  2. มีร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบโรคศิลปะ แพทย์แผนจีน
  3. มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โดยคำนึงถึงปัญหาทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐฐานะ สิทธิของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถใช้วิจารณญาณแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเป็นระบบและรู้ขีดความสามารถของตนเอง
  4. มีความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สร้างมนุษย์สัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีนิสัยใฝ่รู้ และศึกษาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
  6. มีภาวะความเป็นผู้นำ รู้หลักการและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการด้านการแพทย์แผนจีนให้สอดคล้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศและงานทั่วไป
  7. สามารถพัฒนาตนเองและปรับตัวให้เข้ากับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของคุณธรรม

วิสัยทัศน์

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม จิตสาธารณะ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และทักษะวิชาชีพเพื่อการสร้างสรรค์สังคมอย่างมีคุณค่า

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คุณธรรม มีจิตสาธารณะ มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และชำนาญการในวิชาชีพ
  2. สร้างงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของสังคม
  3. เผยแพร่ความรู้และให้บริการวิชาการในสาขาวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม
  4. ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมไทยให้มั่นคงและยั่งยืน
  5. บริหารจัดการการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา

เป้าหมาย

เพื่อให้คณะแพทย์ตะวันออกสามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามปณิธาน วิสัยทัศน์ที่กำหนด คือ ให้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม จิตสาธารณะ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และทักษะวิชาชีพเพื่อการสร้างสรรค์สังคมอย่างมีคุณค่า จึงกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา ดังนี้

  1. บัณฑิตมีความรู้ คุณธรรม มีจิตสาธารณะ มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และชำนาญการในวิชาชีพ
  2. มีผลงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
  3. ผลบริการวิชาการแก่สังคมสามารถสร้างคุณค่า/ประโยชน์แก่ผู้รับบริการและผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
  4. นักศึกษาเห็นความสำคัญและคุณค่าของขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมไทย
  5. ผลสัมฤทธิ์ด้านบริหารและระบบประกันคุณภาพภายในบรรลุผลตามเกณฑ์

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบัณฑิตและวิชาการ 
  2. ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อสรรค์สร้างสังคม 
  3. ยุทธศาสตร์การบริการวิชาการเพื่อสังคม 
  4. ยุทธศาสตร์พัฒนานักศึกษาและทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม 
  5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาอย่างประกันคุณภาพ